Home » » ประวัติบ้านเดื่อศรีคันไชย

ประวัติบ้านเดื่อศรีคันไชย

Written By เอกน้อย on วันจันทร์ที่ 21 กรกฎาคม พ.ศ. 2557 | 23:08


        เมื่อรัชกาลที่ 5 ปี พ.ศ. 2422 – 2493 พระสิทธิศักดิ์ประสิทธิ์ หรือท้าวเทพกัลยา ได้ย้ายเมืองสว่างแดนดินจากที่ตั้งบ้านโพนสว่างหาดยาวมาตั้งที่บ้านเดื่อ ต่อมาเพิ่มสร้อยเป็นบ้านเดื่อศรีคันไชย คำว่า บ้านเดื่อผู้เฒ่าผู้แก่หรือคนสมัยนั้นได้มองเห็นอย่างเด่นชัดแล้วว่า คำว่าเดื่อมาจากต้นมะเดื่อใหญ่ โดยเฉพาะในฤดูมะเดื่อสุก ฝูงนกและสัตว์ชนิดต่าง ๆ ได้พากันมาเก็บกินเป็นอาหาร และเป็นที่อาศัยร่มเงาของคนที่เดินทางสัญจรผ่านไปมาพักหลบร้อนให้หายเหนื่อยก่อนจะเดินทางต่อไป ส่วนคำว่าศรีคันไชยนั้นเป็นชื่อของดาบวิเศษท้าวสังข์สิงห์ไชย เดื่อศรีคันไชยจึงมีความหมายว่า ถิ่นที่มีต้นมะเดื่อใหญ่และถิ่นที่มีดาบศรีคันไชย อันเป็นดาบคู่บ้านคู่เมืองซึ่งวีรบุรุษเคยใช้ออกศึกรักษาบ้านเมืองจนได้รับชัยชนะมาแล้ว


        ในปี พ.ศ. 2512 ได้แบ่งการปกครองขยายความเจริญออกเป็น 5 หมู่บ้าน คือ บ้านเดื่อศรีคันไชย,บ้านปานเจริญ, บ้านเนินโพธิ์ทอง, บ้านโคกไพศาล, บ้านท่าเดื่อ อำเภอวานรนิวาส จังหวัดสกลนคร

ที่ตั้งของหมู่บ้าน
  • บ้านเดื่อศรีคันไชย ตั้งอยู่บนถนนสายเอเชียหมายเลข 222 ตั้งอยู่ระหว่างเขตอำเภอพังโคนและอำเภอวาริชภูมิ จังหวัดสกลนคร อยู่ห่างจากอำเภอวานรนิวาสประมาณ 22 กิโลเมตร และอยู่ห่างจากจังหวัดสกลนครประมาณ 60 กิโลเมตร
จำนวนครัวเรือนทั้งหมด
  • 217 ครัวเรือน
จำนวนประชากรทั้งหมด
  • 962 คน 
  • แยกเป็นเพศชาย 471 คน 
  • และเพศหญิง 498 คน
(ที่มา จากข้อมูล จปฐ. ปี 2550 )

ข้อมูลด้านสังคม ประเพณี วัฒนธรรมท้องถิ่น
  • ด้านประเพณีทุกครัวเรือนนับถือศาสนาพุทธ ปฏิบัติตามประเพณี ฮีต 12 ครอง 14 มีงานต่างๆเช่นบุญเข้าพรรษา,ออกพรรษา,บุญกฐิน , บุญมหาชาติ ฯลฯ
สภาพทางสังคม
  • ประชาชนบ้านเดื่อศรีคันไชยส่วนใหญ่ใช้ภาษาถิ่นเป็นภาษาลาว นับถือศาสนาพุทธทั้งหมด

สำหรับเรื่องการศึกษาส่วนใหญ่อยู่ในระดับประถม โดยจากการจัดเก็บข้อมูล จปฐ.ปี 2550 เมื่อนำข้อมูลด้านการศึกษามาพิจารณาปรากฏว่ามีผู้ที่เรียนในระดับประถมมากถึงร้อย 62.18 ของจำนวนประชากรทั้งหมด

สภาพทางเศรษฐกิจ
  • อาชีพหลักของประชาชนบ้านเดื่อศรีคันไชย คือ การทำนา อาชีพรอง คือ การรับจ้าง เลี้ยงสัตว์ อาชีพเสริม ได้แก่ ผลิตลวดหนามด้วยมือ เมื่อนำข้อมูลการประกอบอาชีพจากการสำรวจข้อมูลจปฐ. ปี 2550 โดยนับเฉพาะผู้ที่มีอายุ ตั้งแต่ 18 ปี ขึ้นไป ไม่นับนักเรียนนักศึกษา จำนวน 325 คน ปรากฏว่าส่วนใหญ่ประกอบอาชีพ ทำนา 105 คร. ( 90.5, 43%) รองลงมา คือ รับจ้าง 90 คน (46.9, 23%) และค้าขาย 18 ครัวเรือน (30.6, 23%) เลี้ยงสัตว์ 29 คน (38.6,19%) ตามลำดับ

0 ความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

ขับเคลื่อนโดย Blogger.